Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.



 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 220
Join date : 05/08/2009
Age : 43

โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ   โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ EmptyThu Dec 17, 2009 8:49 pm

Laughing คนที่เล่นคอมพิวเตอร์เป็นประจำมักจะเกิดโรค CTS หรือ โรค Carpal Tunnel Syndrome ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเกิดจากการที่เพิ่มหนาขึ้นของพังผืดบริเวณช่องเส้นเอ็นตรงข้อมือ (ปกติตรงข้อมือของคนเราจะมีเส้นเอ็นข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน) เนื่องจากการใช้เมาส์โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน หรือการกดคีย์บอร์ด

Shocked โรค CTS หรือ โรค Carpal Tunnel Syndrome

เกิดจากการที่เส้นประสาทที่วิ่งผ่านท่อนแขนจากข้อศอกไปยังข้อมือได้รับ แรงกดซ้ำ ๆ หรือ เกิดจากการเพิ่มหนาขึ้นของพังผืดที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือกดทับเส้นประสาทมี เดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ และเป็นเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ

Shocked ลักษณะผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค

1. ผู้ที่ใช้ข้อมือทำงานในท่าเดิมๆ
2. ผู้ที่ต้องใช้มือหรือข้อมือมากๆในชีวิตประจำวัน
3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท เช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ
4. หญิงตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด
5. ผู้ที่ใช้มือและข้อมือติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แม้จะเป็นงานเบาๆ
6. ผู้ที่ใช้ข้อมือกระดกขึ้นลงบ่อยๆ หรือทำงานที่มีการสั่นสะเทือนของมือและแขนอยู่เป็นเวลานาน

Shocked อาการของโรค CTS

* ชาหรือปวดบริเวณมือ ในบางรายอาจมีอาการได้ทั้งฝ่ามือ มักมีอาการชัดในมือข้างที่ถนัด บางรายอาจเป็นทั้ง 2 ข้าง ส่วนมากมักเป็นเวลากลางคืน หลังจากนอนหลับบางครั้งอาจตื่นขึ้นมาจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดมือแล้วอาการจะดีขึ้นชั่วคราว
* ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้น จะทำให้อาการอ่อนแรงของมือ หยิบจับของลำบาก หรือถือของหล่นบ่อยๆ และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบลง
* จะพบได้บ่อยสำหรับเพศหญิง มากว่าเพศชาย
* อายุที่พบบ่อย ประมาณ 35-40 ปี
* มักพบในผู้ที่มีข้อมือค่อนข้างกลม

Shocked การรักษา

1. หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจำวัน โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ในการทำกิจกรรม เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ
2. การทำกายภาพบำบัด การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก
3. การใส่เครื่องช่วยพยุงมือในเวลากลางคืน จะช่วยจัดท่าของข้อมือให้อยู่ในท่าที่ดีที่สุดเวลานอน เพื่อช่วยลดอาการปวดและเป็นการเตือนผู้ป่วยไม่ให้กระดกข้อมือมากเกินไป
4. แบบให้ยา ถ้าเพิ่งเริ่มเป็นอาจจะกินยาแก้ปวดแล้วก็พักข้อมือหยุดการเคลื่อนไหวอาการก็อาจทุเลาและหายไปได้เองโดยตรง
5. การผ่าตัด พิจารณาในผู้ที่มีอาการค่อนข้างมากได้ผลดี หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลยและหลังจากที่แผลหายดีแล้ว ควรจะมีการฝึกการบริหารมือและข้อมือ เพื่อให้เส้นเอ็น และเส้นประสาทของมือเคลื่อนไหวได้สะดวก ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการทำกายภาพบำบัด เช่น การนวดหรือลูบเบาๆ บริเวณแผล การใช้ความร้อน ความเย็น


ที่มาข้อมูล

โรงพยาบาลลาดพร้าว แพทย์เฉพาะทางเวศศาสตร์ฟื้นฟู
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://myanter.forumotion.com
 
โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
 :: บทความทั่วไป-
ไปที่: